Wednesday, July 8, 2009

ไขมันสะสมคั่งในตับ (NASH)

ไขมันสะสมคั่งในตับ (NASH)

โรคไขมันคั่งสะสมในตับ คือภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอรายด์ อยู่ในเซลล์ของตับซึ่งอาจมีเพียงแค่ไขมันคั่งอยู่ในเซลล์ตับ หรือมีอาการอักเสบของตับร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วจะมีสาเหตุต่างๆ มากมายที่สามารถทำให้เกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับได้ สาเหตุที่พบบ่อยคือจากการดื่มสุรา, ยาบางชนิด หรือสารพิษ, ภาวะขาดสารอาหาร, ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson’s Disease) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดการจากดื่มสุรา ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) แต่ถ้ามีกรอักเสบของตับร่วมกับมีการบวมของเซลล์ตับร่วมด้วย ก็จะเรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Steato Hepatitis (NASH)

ไขมันคั่งสะสมในตับพบได้บ่อยขนาดไหน
มีการศึกษาทั้งจากประเทศทางอเมริกาและญี่ปุ่น พบว่ามีประชากรประมาณร้อยละ 10-20 มีภาวะไขมันคั่งสะสมในตับโดยการตรวจด้วยวิธี อัลตราซาวด์ และประมาณร้อยละ 1-3 ของประชากร จะมีการอักเสบของตับ หรือที่เรียกว่า NASH ร่วมด้วย และถ้าดูผู้ป่วยที่มาตรวจด้วยเรื่อง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี, ซี, การดื่มสุรา, หรือรับประทานยา แล้วพบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ ที่อาจเป็นสาเหตุของตับอักเสบเรื้อรัง สำหรับในประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจังแต่ก็พบว่าภาวะไขมันคั่ง สะสมในตับเป็นสาเหตุของตับอักเสบเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มาตรวจเรื่องตับอักเสบเรื้อรัง
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดไขมันคั่งสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดจากการสูบบุหรี่นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ในปัจจุบันคิดว่ามีหลายสาเหตุ ความรู้จากการศึกษาในปัจจบันพบว่าภาวะที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลินเป็นปัจจัย ที่สำคัญของการเกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ หลังจากนั้นอาจจะมีปัจจัยหรือกลไกอื่นอีกที่มากระตุ้นให้เกิดการอักเสบและ การตายของเซลล์ตับ ซึ่งกลุ่มอาการที่สัมพันธ์ต่อการดื้อต่ออินซูลินนี้เรียกว่า Insulin Resistant Syndrome ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ

1. อ้วน ซึ่งมักจะอ้วนที่ลำตัวมากกว่าแขนขา
2. เป็นเบาหวาน
3. มีไขมันในเลือดสูง
4. มีความดันโลหิตสูง
พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่มีไขมันคั่งสะสมในตับ จะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินร่วมด้วย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่แสดงอาการดื้อต่ออินซูลินให้เห็น ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับนั้นจะมีได้หลายปัจจัยที่นอกเหนือไป จากภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น สารพิษ และยาบางชนิด
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ มักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการมาเจาะเลือดเช็คสุขภาพ ในบางรายอาจมีอาการปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา ในบางรายอาจจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย เมื่อโรคตับเป็นมากแล้ว ตรวจร่างกายผู้ป่วยมักจะพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติยกเว้นอาจจะพบว่าผู้ป่วยอาจจะ อ้วน ซึ่งมักจะเป็นอ้วนแบบลงพุง และในกรณีผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้วก็อาจตรวจเจอลักษณะของโรคตับเรื้อรังหรือ ตับแข็งร่วมด้วย การเจาะเลือดดูการทำงานของตับอาจจะพบค่า AST กับค่า ALT สูงกว่าปกติประมาณ 1.5 เท่า ถึง 4 เท่า อาจจะมีค่าALP สูงขึ้นเล็กน้อยส่วนค่าอื่นๆ มักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาวะไขมันคั่งสะสมในตับมีอันตรายหรือไม่
ภาวะไขมันคั่งสะสมในตับอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิด โดยแบ่งตามพยาธิสภาพของชิ้นเนื้อตับ ดังนี้
ชนิดที่ 1 ชนิดนี้จะมีแต่ไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับอย่างเดียว แต่ไม่มีการอักเสบของตับ ร่วมด้วย
ชนิดที่ 2 ชนิดนี้จะมีไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับ ร่วมกับมีการอักเสบของตับเล็กน้อย
ชนิดที่ 3 ชนิดนี้จะมีไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับ และมีการบวมโตของเซลล์ตับ
ชนิดที่ 4 จะเป็นแบบชนิดที่ 3 แต่มีการตายของกลุ่มเซลล์ตับ และอาจมีผังผืดในตับร่วมด้วย
ชนิดที่ 1 และ 2 มักจะสบายดี แม้ว่าจะติดตามไปเป็นระยะเวลา 10-20 ปี ก็ยังปกติดีไม่มีอาการของโรคตับเรื้องรังเกิดขึ้น แต่ไขมันคั่งสะสมในตับชนิดที่ 3 และ 4 จะมีการดำเนินโรคจนเกิดตับแข็งได้ถึงร้อยละ 20-28 ในเวลา 10 ปี ดังนั้น จะว่าแม้ว่าโดยรวมดูเหมือนว่าภาวะไขมันคั่งสะสมในตับไม่รุนแรงแต่ผู้ป่วยที่ เป็นชนิดที่ 3 และ 4 จะมีการดำเนินโรคไปเป็นตับแข็งและอาจเสียชีวิตได้ ไม่ต่างจากไวรัสตับอักเสบเรื้องรัง ปัจจุบันข้อมูลยังบ่งชี้ว่า ตับอักเสบเรื้องรังจากภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้ว
จะตรวจได้อย่างไรว่ามีไขมันคั่งสะสมในตับ
1. โดยการเจาะเลือดดูการทำงานของตับว่ามีการอักเสบ (ค่า AST, ALT สูงกว่าปกติ) ดูระดับ น้ำตาล, ระดับไขมันในเลือดว่าสูงกว่าปกติ
2. ตัดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับออกไปก่อน เช่นการดื่มสุรา, การรับประทานยา, ตับอักเสบจากไวรัสซี, และ Wilson’s Disease เป็นต้น
3. การตรวจอัลตราซาวด์ จะพบว่าตับอาจมีขนาดโตขึ้น และมีลักษณะขาวขึ้นกว่าไตและม้าม
4. ตรวจโดยวิธีเอ็กซ์เรย์ คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) หรือเอ็กซ์เรย์ สนามแม่เหล็ก (MRI)
5. เจาะชิ้นเนื้อตับออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา
โดยทั่วไปเรามักจะทำการวินิจฉัยโดยวิธีที่ 3 และ 4 ข้อแรก จะพิจารณาเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจเฉพาะในรายที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วย และไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของโรคหรือในกรณีที่คิดว่าภาวะอักเสบของตับอาจจะเกิด สาเหตุอื่นร่วมด้วย
จะรักษาไขมันคั่งสะสมในตับอย่างไร
การรักษาที่สำคัญและได้ประโยชน์มากในผู้ป่วยไขมันคั่งสะสมในตับ คือ การลดน้ำหนัก ในกรณีที่ผู้ป่วยอ้วน ซึ่งควรลดน้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหารกล่าวคือ หลีกเลี่ยงการทานอาหารทีมีไขมันสูง เช่น นม เนย กะทิ ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดงและ เนื่องจากไตรกลีเซอรายด์เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับก็ต้องพยายามหลีก เลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลงด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมื้อเย็น ที่สำคัญควรมีการออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะเป็นการลดน้ำหนักอย่างถูกสุขภาพ และเป็นการช่วยสลายไขมันออกจากตับได้ดี แต่พึงระวังว่าไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการงดอาหาร และไม่ควรลดน้ำหนักเร็วเกินไป โดยทั่วไป แนะนำให้ลดน้ำหนักลงประมาณ 1-2 กิโลกรัม / เดือน เพราะการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็วโดยการงดอาหารอาจก่อให้เกิดตับอักเสบอย่าง รุนแรงได้ การลดน้ำหนักนั้นควรลดลงมาอย่างน้อยร้อยละ 15 จากน้ำหนักเริ่มต้นหรือจนน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานรักษาควบคุมระดับน้ำตาล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเบาหวานรักษา ควบคุมไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไขมันในเลือดสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น
ข้อควรระวัง ยา ที่ใช้ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงหลายตัวนั้นมีผลข้างเคียงทำให้เกิดตับ อักเสบเอง จึงควรเริ่มต้นด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ก่อนจะใช้ยาต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจน สำหรับยาที่ใช้ในการรักษาภาวะตับอักเสบเรื้องรังจากไขมันคั่งสะสมในตับ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจัยแต่ยาที่มีการศึกษาพอควรและมีข้อมูล ที่บ่งว่าน่าจะมีประโยชน์ มีดังนี้
1. Ursodexycholic Acid (UDCA) ยากลุ่มนี้มีการศึกษาพบว่า จะช่วยลดภาวะการอักเสบของตับลง และมีการทำงานของตับดีขึ้น ขนาดที่ใช้ในการรักษา คือ 12-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งต้องรับประทานระยะยาวเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แต่ข้อมูลการศึกษาการรักษาเป็นเวลานาน 2 ปี ไม่แสดงประโยชน์ของการรักษาด้วยยาตัวนี้มากนัก
2. วิตามินอี ซึ่งจัดเป็น Anti-Oxidative Stress อันเป็นกลไกที่สำคัญของการเกิดตับอักเสบและการตายของเซลล์ตับ การศึกษาในเด็กพบว่า วิตามินอีช่วยลดการอักเสบของตับลงได้โดยรับประทานในขนาด 800-1,600 มิลลิกรัม ต่อวัน
3. Silymarin เป็นยาที่สกัดมาจากดอก Milk Thrisle ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของสก๊อตแลนด์ Silymarin ก็มีฤทธิ์เป็น Anti-Oxidative Strees นอกจากนี้ยังมีการศึกษาบ่งว่าอาจช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินลง ดังนั้นโดยฤทธิ์ของยาก็น่าจะมีประโยชน์ในการรักษาไขมันคั่งสะสมในตับ โดยออกฤทธิ์ทั้งลดการอักเสบและเพิ่มความไวต่ออินซูลิน
4. ยากลุ่มที่กระตุ้นความไวต่ออินซูลิน เช่น ยากลุ่ม Metformin พบว่าสามารถช่วยลดไขมันที่คั่งสะสมในตับและลดการอักเสบของตับลงได้
นอกจากนี้ยังมีการศึกษายาตัวใหม่ๆ อีกหลายตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มที่มีฤทธิ์ Anti-Oxidative Stress กับกลุ่มที่ลดความดื้อต่ออินซูลิน ในประเทศที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนตับ ก็มีการรักษาผู้ป่วยไขมันคั่งสะสมในตับ ที่มีตับแข็งรุนแรงหรือตับแข็งระยะสุดท้ายด้วยวธีการผ่าตัดเปลี่ยนตับ


5 วิธีใส่ใจสุขภาพตับ (ไม่ให้ไขมันในตับสูง)
สัปดาห์ก่อนคุณหมอ ท่านหนึ่งดูไม่อ้วนอะไรเลย ไปตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ช่องท้อง และตรวจพบไขมันในตับสูง (fatty liver) เป็นไปได้หรือที่คนผอมจะมีไขมันในตับสูงได้
วันนี้มีคำแนะนำจากเมโยคลินิกมาฝากครับ

ภาวะไขมันในตับ สูงโดยไม่ได้ดื่มเหล้าหรือดื่มน้อยมาก (nonalcoholic fatty liver disease) ส่วนใหญ่จะไม่ทำให้เกิดอาการหรือโรคอะไร (steatosis) ส่วนน้อยอาจทำให้เกิดตับอักเสบ (nonalcoholic steatohepatitis / NASH) ซึ่งอาจทำให้เกิดตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งตับได้
โรค นี้พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ทว่า... พบมากที่สุดในคนวัยกลางคนที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน เป็นเบาหวาน มีค่าโคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด) หรือไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์สูง

คนในซีกโลกตะวันตก (ฝรั่ง) อ้วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า ประชากรสหรัฐฯ 1 ใน 3 มีไขมันในตับสูง
คน ที่มีไขมันในตับสูงส่วนใหญ่อยู่แบบสบายๆ ไม่มีอาการอะไร ส่วนน้อยมีอาการที่ไม่ชัดเจน เช่น อ่อนเพลีย เพลียง่าย ไม่สบายหรือแน่นท้องด้านขวาตอนบน ฯลฯ


ภาพจากเมโยคลินิก > [ picture from Mayoclinic ]
โปรดสังเกตว่า ตับมีไขมันแทรกจนเหลืองอร่าม ไม่เหมือนตับทั่วไปที่มีสีแดงคล้ำ

ภาวะไขมันในตับ สูงมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เพิ่มความเสี่ยง (โอกาสเป็น) โรคเบาหวาน หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
กลุ่มอาการเมทาโบลิคได้แก่
• อ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง
• ความดันเลือดสูง
• ไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) สูง
• ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) ชนิดดี (HDL) ต่ำ
• ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ว่าที่เบาหวาน หรือใกล้เป็นเบาหวานขึ้นไป) ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

ทำไมไขมันในตับที่ดูเหมือนนิ่ง สงบเสงี่ยมมาเป็นเวลานาน และไม่ค่อยมีอาการ ถึงได้ "ดุ" หรือ "โหด" ขึ้นมาในคนบางคน
เรื่อง นี้นักวิจัยหลายท่านกล่าวว่า การมีไขมันในตับสูงอาจเปรียบได้กับ "การโจมตีครั้งที่ 1 (first hit)" คล้ายๆ การแทรกซึมของผู้ก่อการร้าย

ส่วนการอักเสบในตับไปจนถึงตับแข็ง หรือมะเร็งน่าจะเป็นผลจากการ "โจมตีครั้งที่ 2 (second hit)" ซึ่งอาจเปรียบได้กับการก่อการร้ายแบบเต็มตัว
สาเหตุ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดการโจมตีครั้งที่ 2 มีหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อ (เช่น เหงือกอักเสบเรื้อรัง ฯลฯ) ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง (เช่น อายุมากขึ้น ฯลฯ) การได้รับธาตุเหล็กมากเกิน (เช่น กินเนื้อ เลือด หรือยาบำรุงเลือดมากเกิน ฯลฯ) ลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งแต่ละคนจะต่างกันไป ฯลฯ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคตับมีไขมันมากมี 2 กลุ่มได้แก่
(1). ปัจจัยที่สำคัญมากได้แก่ น้ำหนักเกินหรืออ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง

คนที่มีโรคตับอักเสบจากไขมันในตับสูง (NASH)
• มากกว่า 70% เป็นคนอ้วน
• 3 ใน 4 เป็นโรคเบาหวาน
• มีไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง (อาจถึง 80%)

(2). ปัจจัยที่มี ความสำคัญรองลงไปได้แก่ การผ่าตัดช่องท้อง (เช่น การผ่าตัดลำไส้เพื่อลดความอ้วน ฯลฯ) ยาบางชนิด (เช่น ฮอร์โมนเพศทดแทนหลังหมดประจำเดือน ฯลฯ) โรคพันธุกรรมบางอย่าง

ข่าวดีคือ โรคนี้ป้องกัน หรือชะลอไม่ให้โรคแย่ลงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
• ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน)
• ออกแรง-ออกกำลัง
• ควบคุมเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือด) ให้ดี
• ลดระดับไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอล (ถ้าสูง)

(1). ลดน้ำหนัก
• สูตร อาหารที่ช่วยลดความอ้วน หรือลดน้ำหนักได้ดีประกอบด้วยอาหารที่มีเส้นใย (ไฟเบอร์) สูง เช่น ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) ธัญพืชไม่ขัดสี (เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังเติมรำ ฯลฯ) ให้กำลังงานต่ำ (เช่น ไม่ผ่านการผัด ทอด หรือเติมน้ำตาล ฯลฯ) และมีไขมันไม่เกิน 30% ของกำลังงานทั้งหมด (ประมาณ 15% ของปริมาณทั้งหมด)

• ลดน้ำหนักช้าๆ สัปดาห์ละไม่เกิน 0.5 (ครึ่ง) กิโลกรัมกำลังพอดี
• การลดน้ำหนักเร็วๆ มากๆ อาจทำให้ไขมันจับตับมากขึ้นได้

(2). การออกแรง-ออกกำลัง
• อาหารสุขภาพ (ตามข้อ 1) และการออกแรง-ออกกำลังพอประมาณมีส่วนช่วยลดการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดการอักเสบของตับ

(3). ควบคุมเบาหวานให้ดี
• การรักษาเบาหวานไม่ได้ขึ้นกับยาเพียงฝ่ายเดียว ทว่า... ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างการควบคุมอาหาร การออกแรง-ออกกำลัง และยา
(4). ลดระดับไขมันในเลือด
• ควรลดระดับไขมันหรือโคเลสเตอรอลในเลือดด้วยการควบคุมอาหาร ออกแรง-ออกกำลัง หรือใช้ยา (ถ้ามีข้อบ่งชี้) มีส่วนช่วยให้โรคนี้ทุเลาลงได้

(5). หลีกเลี่ยงสารพิษ
• ควร ลด-ละ-เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) และสารเคมีหรือยาที่มีพิษต่อตับ เช่น ไม่กินยาแก้ปวดพาราเซตามอลเกินขนาด หรือกินติดต่อกันนานเกิน (7 วัน) ฯลฯ

การป้องกันโรคนี้เสียตั้งแต่ต้นเป็นดีที่สุด สรุปการป้องกันโรคที่สำคัญได้แก่
• (1). ระวังอย่าให้อ้วน

• (2). ป้องกันโคเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดสูง โดยการควบคุมอาหาร ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
• (3). ระวังอย่า ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยการกินธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ พอประมาณ กินผักให้มากหน่อย กินผลไม้ที่ไม่หวานจัดพอประมาณ กินถั่ว กินช้าๆ และถ้าเป็นเบาหวาน... ควรรักษาให้ต่อเนื่อง

• (4). ลด-ละ-เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ)
เมื่อ คนบนโลกอ้วนกันมากขึ้น... เราก็จะมีโอกาสพบโรคไขมันในตับสูงเพิ่มขึ้น หรือแม้คนที่ไม่อ้วน... ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง ฯลฯ ก็มีโรคไขมันในตับสูงได้
ที่มา: บ้านสุขภาพ โดย น.พ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

โรค ไขมันในตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ หรือ Non Alcoholic Fatty Liver Disease, NAFLD คุณหมอ Ludwig ในปี 2523 เป็นผู้ที่ทำให้วงการแพทย์รู้จักโรคนี้ว่ามีไขมันจำนวนมากไปสะสมในตับ ทำให้ตับมีการอักเสบทีละเล็กละน้อย จนกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับแข็ง และอาจจะกลายเป็นมะเร็งของตับได้ โรคนี้มีอันตรายมาก และจะเป็นโรคที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากโรคนี้เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โดยเฉพาะที่พุง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และร่างกายมีความดื้อต่อสารอินซูลิน (สารอินซูลินมีหน้าที่คอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงจนเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง หมดนี้ถูกเรียกรวมกันว่าเป็น Metabolic Syndrome โรคอ้วนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกนี้ เช่น ในปี 2540 มีคนอ้วนแค่ 200 ล้านคน แต่ปี 2568 จะมีคนอ้วนถึง 600 ล้านคน! คนอ้วนในที่นี้คือ คนที่มีดัชนีมวลกาย หรือ body mass index 30 ขึ้นไป (สำหรับชาวโลกที่ไม่ใช่ชาวเอเชีย)Non Alcoholic Fatty Liver Disease เป็นชื่อรวมของโรคนี้ ตอนแรกจะมีแต่ไขมัน (steatosis) เท่านั้น แต่ถ้ามีไขมันมากขึ้นตับจะอักเสบ เมื่อมีการอักเสบจะเรียกว่า Non Alcoholic Steatohepatitis (NASH) หรือการอักเสบของตับเนื่องมาจากไขมันในตับ ถ้ายังไม่มีการรักษาที่ดีจะกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็ง ตับการป้องกันและรักษาโรคตับที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับ คือ การลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จนกระทั่งดัชนีมวลกาย หรือ body mass index, BMI อยู่ต่ำกว่า 23 (สำหรับคนไทยและเอเชีย สำหรับชาวโลกประเทศอื่นๆ ค่าปกติคือ ต่ำกว่า 24.9 ระหว่าง 24.9-29.9 จะเรียกเพียงว่าน้ำหนักเกิน) แม้ท่านยังไม่มีความดันโลหิตสูง ไม่มีไขมันในเลือดสูง ไม่อ้วน ไม่เป็นเบาหวาน ท่านก็ยังต้องคุมอาหารและออกกำลังกายตั้งแต่บัดนี้เพื่อดู BMI และพุงของท่านให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ต่ำกว่า 23 และ 90 เซนติเมตร (ชาย) 80 เซนติเมตร (หญิง) ตามลำดับ ถ้าท่านทำได้แค่นี้ท่านจะป้องกันโรคต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดัน โรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน ฯลฯ

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระ พิรัชวิสุทธิ์
หน่วยโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา 90110

1 comment:

Tagoo said...

โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิปากขอ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับอ่อน โรคมะเร็งท่อน้ำดี อาร์ติโช๊คอาหารบำรุงตับ
Artichoke (ATISO, actiso) อาร์ติโช๊คบำรุงตับไตถุงน้ำดี
อาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus) เป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ เฉพาะภูเขาสูงมากกว่า 1,500 เมตร เท่านั้น ปี 2513 นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป ได้ค้นพบสารไซนาริน ” มีคุณค่าทางอาหาร และยา นำมาบริโภคสด หรือปรุงอาหารได้ทุกส่วน หรือนำมาสกัดสารไซนาริน(Synarin) รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี” ในยุคโบราณอาร์ติโช๊คเป็นอาหาร และยารักษาโรคของชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมัน และเป็นเมนูอาหารที่สำคัญในทุกงานเลี้ยงของกรุงโรม นอกจากจะเป็นอาหารเสริม แล้วยังมีสรรพคุณทางยา ดังนี้
1. ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ในการสกัดสารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระแสโลหิต สร้างน้ำดีและน้ำย่อย และเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารอาหาร ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
2. กระตุ้น การสร้างน้ำดีของตับ ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดไขมัน (Chloresteral) ในเลือด ช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
3. เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยสร้างน้ำดีป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก
4. ช่วยป้องกันตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน และโรคตับแข็ง (Cirrhosis) ในประเทศบราซิล อาร์ติโช๊ค เป็นยาสมุนไพรพื้นฐาน ที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของตับ และโรคอื่นหลายโรค ได้อย่างกว้างขวาง เช่น โรคโลหิตจาง เบาหวาน ไข้ รักษาบาดแผล และเกาต์

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม
www.artichokeskidney.com หรือ
www.smethai.com/shop/gms
Tel: 02 - 888 - 9954, 081 – 627 1521 คุณวัลลภา