Wednesday, July 15, 2009

Stanley 77-018 IntelliMeasure Distance Estimator (30)



Stanley 77-018 IntelliMeasure Distance Estimator (30)
Price = 2,250.-
Technical Details

• Allows one person to measure up to 40 without assistance
• Intuitively designed toggle button features three measuring modes: length, area, and volume
• LCD always displays last three measurements for quick reference
• Choose between English or Metric modes. Large, easy-to-read LCD screen
• Limited Lifetime Warranty
Allows one person to measure up to 40 without assistance. Intuitively designed toggle button features three measuring modes: length, area, and volume. LCD always displays last three measurements for quick reference. Choose between English or Metric modes. Large, easy-to-read LCD screen. Accurate measurements (+/-0.5%) you can rely on. Automatically calculates area and volume. Manual addition mode for specialized calculations (i. e. , perimeter).

Ultrasonic Estimator, Allows One Person To Measure Up To 40' Without Assistance, Toggle Button Features 3 Measuring Modes: Length, Area & Volume, LCD Always Displays Last 3 Measurements For Reference, Choose Between English & Metric, Large Easy To Read LCD Screen, Accurate Measurements To Within 0.5%, Automatically Calculates Area & Volume, Manual Addition Mode For Specialized Calculations, i.e. Perimiter.

For more information please contact :
Master Power Co.,Ltd.
6/3 M.6 T.Namai A.Ladlumkaeo C.Pathumthani 12140 Thailand
Email : santi@mastercomm.net ; santi@masterpower.co.th
or Tel: (66) 0 2977-7620 Mobile: (66) 08 9766 7210 , (66) 08 9766 7210

Wednesday, July 8, 2009

การย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต

การย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตนั้น แยกได้เป็น 2 กลุ่ม ตามชนิดของอาหารได้แก่
1. พวกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น พวกแป้ง และเส้นใย
2. พวกน้ำตาล
การย่อยจะเริ่มต้นจากปากด้วยการเคี้ยวและการผสมกับน้ำลายซึ่งมีเอนไซม์ อะมิเลส (amylase enzyme) ช่วยย่อยอาหารประเภทแป้งที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพด ซึงเป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลยาวให้สั้นลงได้จำนวนหนึ่ง
การย่อยคาร์โบไฮเดรตขั้นสุดท้ายจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กด้วยกระบวนการย่อยและการดูดซึมที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
ก. หากเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (simple carbohydrate) หรืออาหารประเภทน้ำตาล เช่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง น้ำผึ้ง ฯลฯ น้ำตาลจากผลไม้ เช่น น้ำอ้อย น้ำองุ่นน้ำส้ม ฯลฯ มันจะถูกย่อยโดยง่ายให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharides) ที่เรียกว่ากลูโคส (glucose) และดูดซึมโดยผนังลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดอย่างวูบวาบทันทีทันใด และแทบจะไม่เหลือกากใยส่งในลำไส้ใหญ่
น้ำตาลกลูโคส ที่อยู่ในกระแสเลือดนี่แหละ คือเชื้อเพลิงที่ร่างกายเอาไปใช้พลังงานโดยมี “เตา” ไมโตคอนเดรียของทุกเซลล์เป็นผู้เผาผลาญกลูโคส แต่กลูโคสเละเชื้อเพลิงมันไม่อาจวิ่งไปหา “เตา” ด้วยตนเองได้มันต้องอาศัยฮอร์โมนจากตับอ่อนตัวหนึ่งที่มีนามว่า อินซูลิน (insulin) เป็นผู้จัดการกับกลูโคสในเรื่อง
1. พากลูโคสไปให้เซลล์เผาผลาญ
2. รักษาระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดและ
3. หากกลูโคสมีเหลือในกระแสเลือดสูงเกินไป อินซูลินก็จะพากลูโคสไปเก็บสะสมไว้ทั่วไปรวมทั้งตับจนเปลี่ยนรูปเป็นไขมัน ไขมันที่สะสมนี้คือต้นเหตุของความอ้วน
ข. หากเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrate) หรือกลุ่มอาหารแป้งและเส้นใย คุณสมบัติที่ดีของอาหารกลุ่มนี้คือ
1. ย่อยแล้วในที่สุดก็ได้น้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดในเวลาที่รวดเร็ว บางชนิดอาจเร็วกว่ากลุ่มน้ำตาลด้วยซ้ำไป
อัตราความเร็วจากการเปลี่ยนอาหารให้เป็นน้ำตาลกลูโคสจนเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งมีความเร็วที่แตกต่างกันระหว่างอาหารชนิดต่างๆนั้น มีชื่อเรียกว่า ดัชนีน้ำตาล (glycemic index, GI) โดยตั้งมาตรฐานความเร็วของอาหารชนิดน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมใช้ได้ในทันทีทันได ให้เท่ากับ 100 ชนิดใดช้ากว่าก็มีตัวเลขดัชนีต่ำกว่า 100 ลงไปตามลำดับ เช่น
ชนิดอาหาร ค่าดัชนี
กลูโคส 100
มันฝรั่งอบ 85
คอร์นเฟลค 77
ข้าวกล้อง 76
ฟักทอง 75
น้ำตาลทราย 65
น้ำผึ้ง 58
มะม่วงสุก 55
ขนมปัง 50
น้ำคั้นแอปเปิล 41
โยเกิร์ต 33
ส้มโอฝรั่ง 25
เชอรี่ 22
ถั่วเหลือง 18
อาหารใดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมีข้อดีตรงที่ ใครที่กำลังหน้ามืดเพราะหิวข้าว อ่อนเปลี้ย ปวดศีรษะ จะเป็นลม อันเป็นอาการของสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) หากได้กินอาหารค่าดัชนีน้ำตาลเข้าไปก็จะช่วยให้หายอาการดังกล่าวได้เร็วทันใจ แต่การกินอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงซึ่งจะเกิดอันตรายต่อร่างกายเช่นเดียวกัน หากสูงขึ้นทันทีทันใดก็เรียกว่า สภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) อาจถึงขั้นหมดสติ (coma) แต่หากน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นประจำเกินค่าปกติที่ชาวบ้านทั่วไปรู้ก็คือ 80-120 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (เรียกย่อๆว่า มก./ดล. หรือ mg./dl) ก็อาจเป็นตัวชี้การเกิดโรคเบาหวานก็ได้ อินซูลิน อีกตามเคยที่มีบทบาทต่อการรักษาระดับปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด ด้วยการนำน้ำตาลส่วนเกินพาไปฝากที่ตับในรูปไกลโคเจน (glycogen) แต่ตับก็มีโกดังรับฝากไม่ได้มากนัก หากล้นที่เก็บกักก็จะเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไตรกลีเซอไรด์ เอาไปฝากไวในเซลล์ไขมัน
2. ข้อดีของอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ มันย่อยสลายหมดทั้งก้อนใส ช้ากว่าอาหารกลุ่มน้ำตาล เพราะโดยธรรมชาติมันมีโมเลกุลสายยาว จึงต้องใช้เวลาในการย่อยให้สั้นลงกว่าจะเป็นโมเลกุลเดี่ยว หลังจากนั้นมันจึงถูกดูดซึมเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดด้วยความเร็วตามค่าดัชนีน้ำตาลของมัน ซึ่งอาจจะเร็วกว่าน้ำตาลบางอย่างก็ได้
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ย่อยสลายช้าโดยค่อยๆย่อยๆเป็นทีละขั้นทีละตอน ส่วนใดเป็นน้ำตาลกลูโคส (โมเลกุลเดียว)ก่อนก็จะถูกดูดซึมไปต่อ เข้าไปในกระแสเลือดทีละน้อยแต่อย่างรวดเร็ว อินซูลิน ในฐานะผู้จัดการน้ำตาลในกระแสเลือด ก็ไม่ต้องออกแรงรับมือกับน้ำตาลกลูโคสมากเกินไป ตับอ่อนก็พลอยไม่เหนื่อย
3. ข้อดีของอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือมันมีเส้นใย (Fiber) อยู่ในตัวของมันไม่มากก็น้อย ตัวอย่างเช่น
อาหาร (100 กรัม) เส้นใย (กรัม)
มันฝรั่ง 1
คอร์น เฟลค 1
ข้าวกล้อง 1
ข้าวขาว 0.1
โอ๊ทมิลล์ 7
ฟักทอง 1 มะม่วงสุก 3
ขนมปังโฮลวีท (มีน้ำตาลแก่) 6
ขนมปังขาว 2
ถั่วเหลือง 16
น้ำผึ้ง 0
น้ำตาล 0
อาหารชนิดใดที่มีเส้นใยมากก็ทำให้มีเนื้ออุจจาระมาก เพราะโดยธรรมชาติในคนปกติ อุจจาระจะประกอบด้วยน้ำประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ โดยของแข็งที่เหลือเป็นอุจจาระนี้คือสายเส้นใยที่มันถูกย่อยไม่ได้ ยิ่งมีเนื้ออุจจาระมากเพราะมีกากมาก การขับถ่ายก็จะมีประสิทธิ์ภาพขึ้นและเคลื่อนที่เร็วขึ้น กากอาหารที่เกิดจากการกินอาหารสารเส้นใย (dietary fiber) มากเท่าใดก็จะทำให้กากอาหารเหล่านั้นเคลื่อนตัวเป็นอุจจาระพ้นร่างกายไปเร็วเท่านั้น เพราะมันถูกบีบรูดในลำไส้เล็กใหญ่ได้ง่าย
ถ้าจะกล่าวถึงประโยชน์เฉพาะหน้าที่ของอาหารเส้นใย ถ้าใครกินเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็ลืมเรื่องท้องผูกไปได้เลย ยิ่งไปกว่านั้น อาหารเส้นใยยังมีส่วนช่วยกวาดพาไขมัน สารพิษโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ช่วยขจัดสารก่อมะเร็ง (carcinogen) ให้พ้นไปจากร่างกายทางอุจจาระอย่างรวดเร็ว จึงอาจกล่าวได้ว่า อาหารเส้นใยมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการลดโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
สรุปว่า อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่มีผลดีต่อการลดความอ้วนก็คือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่หมายรวมถึง ธัญพืช แป้ง ข้าว ผลไม้ ผัก ถั่ว และผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชที่มิใช่น้ำตาล โดยทั้งนี้ยังดิบ (raw) และไม่ขัดสี (unrefined) ด้วยก็จะยิ่งดีมากขึ้น โดยมีเหตุผลดังนี้
1. แม้ร่างกายใช้เวลาในการย่อยนานกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ แต่อาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน กลับเคลื่อนตัวและช่วยพาอาหารชนิดอื่นเคลื่อนที่ผ่านช่องทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) ในเวลาที่รวดเร็วทำให้มีเวลาดูดซึมสารอาหารที่จะทำให้อ้วนน้อยลง
2. เนื่องจากกระบวนการย่อยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มันมีขั้นตอนที่ยาวและชักช้าดังกล่าวในข้อ 1 จึงมีผลให้ร่างกายต้องสูญเสียพลังงานไป เพื่อการย่อยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจากสารอาหารในตัวของมันเองไปถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การย่อยไขมันจะสูญเสียไปเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เรื่องการสูญเสียพลังงานที่ใช้ในการย่อยอาหารนี้ก็คล้ายคลึงกับการสูญเสียพลังงานเพื่อการเผาผลาญอาหาร
3. สารเส้นใยที่เป็นองค์ประกอบของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งช่วยทำให้ปริมาตรอาหารมากขึ้น มีกากอาหารมากขึ้น ย่อมทำให้อิ่มเร็วมากขึ้น
4. การกินอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจำนวนน้อย ประมาณ 200 แคลอรี ก่อนกินอาหารแต่ละมื้อที่มีโปรตีนสูงอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่กินล่วงหน้าไปนั่นจะไปกระตุ้นร่างกายให้ส่งกรดอะมิโนตัวหนึ่ง ชื่อ ทริปโตแฟน (tryptophan) ไปสู่สมองทำให้กลไกความรู้สึกอยากอาหารน้อยลง
อาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนดังกล่าวนี้ ที่เหมาะสมที่สุดก็คือผลไม้ เนื่องจากผลไม้อุดมด้วยสารอาหารสูงแต่ให้พลังงานต่ำ ผลไม้จะพักตัวในกระเพาะอาหาร เพื่อเปลี่ยนเป็นอาหารกึ่งย่อย (chime) ใช้เวลาเพียง 20-30 นาที ก็จะเคลื่อนตัวลงสู่ลำไส้เล็ก ในขณะที่อาหารชนิดอื่นบางอย่างอาจใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมง จึงจะพ้นกระเพาะอาหารและลงสู่ลำไส้เล็ก
การกินผลไม้ก่อนอาหารหลักแต่ละมื้อประมาณครึ่งชั่วโมง จึงช่วยให้ร่างกายได้สารอาหารจากผลไม้อย่างสมบูรณ์แบบ และทำให้ไม่เกิดอาการท้องอืดเหมือนกินผลไม้หลังอาหารหลัก เพราะผลไม้ย่อยแล้วเคลื่อนที่ไม่ได้ เนื่องจากอาหารหลักปิดกั้นเอาไว้ จึงกลายเป็นผลไม้หมักในกระเพาะที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดผลไม้ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจะไปตัดความหิว หรือความอยากอาหาร ช่วยทำให้กินอาหารหลักมื้อนั้นน้อยลง
เอนไซม์ที่ชื่อ โบรมิเลน ในสับปะรด และ ปาเปน ในมะละกอ ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญ นอกเหนือจากสารอาหารอื่นที่กล่าวมาแล้ว กล่าวคือ เอนไซม์ทั้งสองตัวนี้มีฤทธิ์ที่ย่อยเนื้อสัตว์ทำให้เนื้อนุ่ม โดยทำให้โครงสร้างของโปรตีนแตกตัวง่ายขึ้น พูดง่ายๆ คือ การกินสับปะรดหรือมะละกอ ก่อนมื้ออาหารจะทำให้การย่อยอาหารง่ายและเร็วมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลเสียของความอ้วน

ผลเสียของความอ้วน

1. ผลเสียด้านบุคลิกภาพ คนอ้วนไปที่ไหนก็ขาดความมั่นใจ ขวยเขิน ใครพูดถึงความอ้วนของตนก็อาจจะโกรธ ไม่อยากออกสังคม เพราะแต่งตัวแล้วไม่สวย แม้ว่า หน้าตาจะสวยแต่ตัวกลมป็อกจนคนบ่นว่าขอดูหน้าไม่ดูตัว บางคนดึงกับเก็บตัวไปเลย คนอ้วนมักกินเก่ง ไปงานที่ไหนก็กินจุ กินเยอะ จะทำอะไรก็กลายเป็นตัวตลกที่เห็นในโทรทัศน์จึงมักมีคนอ้วนแทรกอยู่เสมอ
2. ผลต่อร่างกาย คนอ้วนจะเหนื่อย อ่อนเพลีย เพราะต้องทำงานแบกรับน้ำหนักตัวเองมาก จึงทำให้ต้องการอาหารเพิ่ม กินมากก็อ้วนมากขึ้น
3. ผลเสียด้านจิตใจ คนอ้วนมักมีความวิตกกังวล เครียด ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย หน้าเป็นมัน
สิวขึ้นง่าย ตัวเหม็นสาบ เหม็นเหงื่อ สังคมรังเกียจ
4. ผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดโรคดังนี้
4.1 โรคของระบบหายใจ
คนอ้วนปกติหายใจเร็วเพื่อให้ร่างกายได้ออกซิเจนเพียงพอ เพราะว่ามีเนื้อมาก พอออกแรงหน่อยหายใจเร็วขึ้นอีกจนบางทีหอบ ถ้าอ้วนมากๆ จะหายใจลำบาก คาร์บอนไดออกไซด์คั่งที่เลือด ทำให้เชื่องซึม เฉื่อยชา เลือดแข็งตัวผิดปกติ
4.2 โรคของระบบไหลเวียนหลอดเลือด
คนอ้วนหัวใจต้องทำงานมากกว่าปกตินานๆก็เกิดอาหารล้า ไขมันที่ไปเกาะตามหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดแข็ง คนอ้วนจึงมีความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะเส้นเลือกที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดได้ง่ายกว่าคนผอม แรงดันโลหิตสูง หัวใจโตหัวใจต้องทำงานสูบฉีดเลือดแรงกว่าปกติมีผลทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโต นอกจากนั้นคนอ้วนมักมีแรงดันเลือดสูงยิ่งทำให้หัวใจโตมากยิ่งขึ้น
4.3 โรคของต่อมไร้ท่อหรือต่อมเอ็นโดครีนอันเป็นที่ผลิตฮอร์โมน ที่เห็นกันบ่อยก็คือ คนอ้วนมักเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคของต่อไร้ท่อ ต่อมขับฮอร์โมนเพศซึ่งอยู่ในรังไข่ ก็ทำงานผิดปกติ ประจำเดือนก็พลอยมาผิดปกติไปด้วย คนอ้วนนั้นมีอาหารมากเหลือเกิน ต้องเผาผลาญมาก ร่างกายต้องผลิตฮอร์โมนพวกอินสุลินมาก เมื่อต้องหลั่งออกมามากๆ วันหนึ่งต่อมก็ต้องลา ทำงานไม่ไหว เลยกลายเป็นเบาหวานไปในที่สุดเพราะอินสุลินมีไม่พอ
4.4 ผลกระทบต่อระบบการเคลื่อนไหวของร่างกายรวมถึงกระดูกและข้อน้ำหนักตัวมาก กระดูสันหลัง ข้อเข่า ข้อเท้า รับน้ำหนักมากกว่าปกติ มักจะปวดหลัง ปวดเข่า โดยเฉพาะข้อเข่า กระดูกเข่าต้องรับน้ำหนักมากจึงทำให้ปวดเข่าเดินเหินไม่สะดวก ความคล่องแคล่วว่องไวนั้นอย่าไปถาม บางคนอ้วนมาก พุงพลุ้ยไปข้างหน้า ทำให้กระดูกสันหลังต้องเปลี่ยนทรวดทรง ทำให้ปวดหลังปวดเอวได้ง่าย
4.5. โรคผิวหนังเนื้อมากย้วยเข้าหากัน บางคนอ้วนมากเกินไปต้นขาเสียดสีกันจนเป็นแผลก็มี เสียดสีกันทำให้แสบขาหนีบ ใต้รางนม มักจะติดเชื้อง่าย เกิดอาการคัน ผิวหนังเปียกชื้อ ขี้ไคลเยอะ ติดเชื้อ รับแบคทีเรียและเชื้อราได้ง่ายขึ้น
4.6 โรคของถุงน้ำดี คนที่อ้วนโดยเฉพาะสตรีพออายุมากมักจะเป็นถุงน้ำดีอักเสบ จนเป็นสูตรว่า Female Fat Forty Fertility
4.7 ระบบเจริญพันธุ์มีบุตรยากเนื่องจากต่อมฮอร์โมนเพศทำงานผิดปกติ ทำให้มีบุตรยาก
ผู้ชายที่มีไขมันมากอุณภูมิของลูกอัณฑะจะสูงกว่าปกติ ชายอ้วนจึงมักจะเป็นหมัน
4.8 การหลับ การนอน นอนกรน คนที่อ้วนเวลานอนมักจะหายใจลำบาก จึงนอนหลับไม่
สนิท และนอนกรนด้วย
4.9 อื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น การดมยาสลบเพื่อผ่าตัด คนอ้วนก็เสี่ยงกว่าคนผอมการคลอด
ก็คลอดยาก ไปโรงพยาบาลเจาะเลือดตรวจเลือดก็เจาะยาก เป็นต้น (ประเสริฐ ทองเจริญ, 2546, หน้า 32-35)

สารอาหาร ต้านอนุมูลอิสระ

สารอาหาร ต้านอนุมูลอิสระ
________________________________________


อาหารที่เรารับประทานเข้าไปทุกวันนี้มีทั้งให้คุณและให้โทษ เป็นได้ทั้งตัวก่อโรคและเป็นยารักษา มีสุภาษิตจีนประโยคหนึ่งที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ เขียนไว้ว่า " Whatsoever was the father of a disease, an ill diet was the mother" และนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์บางท่านถึงกับเชื่อว่า " ขบวนการแก่ " (aging) แท้จริงแล้วส่วนใหญ่เกิดจากการที่คนเราขาดสารอาหารต่างๆ ทีละเล็กทีละน้อยตั้งแต่เราเริ่มสู่วัยผู้ใหญ่จนถึงวัยชรา…ผมเห็นด้วยแต่ รู้สึกว่าจะเว่อร์ไปหน่อยครับ

เนื่องจากเรายังไม่ทราบถึงกลไกที่แท้จริงของความสัมพันธ์ ระหว่างอาหารและสุขภาพจึงมีทฤษฎีเกิดขึ้นมากมาย (สิ่งใดถ้านักวิทยาศาสตร์รู้แล้ว ก็มักจะมีทฤษฎีหรือคำตอบเพียงอย่างเดียว) แต่ ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับสุขภาพที่เป็นหลักใหญ่ๆ มีอยู่ 3 เรื่องด้วยกันคือ
• Antioxidants ในอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังพูดถึงนี้
• Fat ไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์และเอนไซม์ต่างๆ ในร่างกาย เพราะฉะนั้นชนิดของไขมันที่เรารับประทานก็มีผลต่อสุขภาพของเราแน่นอน
• Food sensitivities ซึ่งมีทั้งทฤษฎีเก่าและใหม่ ในทฤษฎีใหม่ เชื่อกันว่าการแพ้อาหารบางอย่างอาจไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด และอาจมีอาการได้หลายรูปแบบ เช่น ปวดศีรษะหรือ อ่อนเพลีย เป็นต้น
Antioxidant (สารต้านอนุมูลอิสระ)
ในปี 2497 Denham Harman, M.D, Ph.D. จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ของ University of Nebraska เป็นผู้เสนอเรื่อง”สารอนุมูลอิสระ” (free radicals) ขึ้น ซึ่งในเวลานั้นมีคนสนใจน้อยมากแต่นายแพทย์ Harman ก็ไม่ย่อท้อ พยายามทำการทดลองหลายครั้งจนในที่สุดก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางใน ปัจจุบัน
แล้วเจ้าอนุมูลอิสระมันคืออะไรมาจากไหนและเกี่ยวกับ antioxidant ได้อย่างไร ถ้าจะให้เขียนกันจริงๆ สามารถเขียนเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ได้หนึ่งเล่มเลยครับ ซึ่งมีคนเขียนไว้มากมายพอควร ผมเลยขออนุญาตย่อสั้นๆ นะครับ
เริ่มกันเลยนะ…สูดหายใจเข้าลึกๆ…. เวลาเราสูดหายใจเข้าออกซิเจนก็จะเข้าไปในปอดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายโดยอาศัยเส้นเลือดต่างๆ แล้วเนื้อเยื่อก็นำออกซิเจนไปใช้ในขบวนการต่างๆ (oxidation) เพื่อทำให้เกิดพลังงาน การสังเคราะห์สารต่างๆ เช่น โปรตีน ไขมัน นอกจากนี้จะเกิดอนุมูลอิสระ (free radical)ขึ้น ซึ่งเป็นสารที่มีอิเล็กตรอนไม่ครบคู่ จึงไม่มีเสถียรภาพ (stable) มันจึงต้องพยายามหาคู่ของมันเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ฟังดูเป็นศัพท์เทคนิคนะครับแต่ในความเป็นจริงอนุมูลอิสระก็มีกลไกเช่นว่านี้ ตอนที่มันวิ่งหาคู่นี้ซิมันไม่วิ่งเปล่าๆ แต่มันจะทำลายเซลล์และสิ่งต่างๆ ด้วย รวมทั้ง DNA ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าเป็นสาเหตุสำคัญของขบวนการแก่ (aging) และโรคต่างๆ เป็นจำนวนมากรวมทั้งมะเร็งด้วย…หายใจออกได้แล้วครับ
ซึ่งตอนนี้ก็ถึงพระเอกขี่ม้าขาว คือ สารต้านอนุมูลอิสระหรือ antioxidant มา ช่วยให้อิเล็กตรอนของสารอนุมูลอิสระมีคู่และมีความเสถียรภาพขึ้น จึงไม่ต้องวิ่งไปทำลายใครอีก Antioxidants มีหลายชนิด แต่ที่สำคัญมีอยู่ 3-4 ชนิด ซึ่งส่วนมากจะเรียกกันว่า antioxidant cocktail คือ Vitamin A, C, E และ selenium (เซลิเนียม) ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภคสรุปอย่างง่ายๆ ได้ดังนี้ครับ
Vitamin A (Beta carotene)
ประโยชน์
• เป็นสาร antioxidant ต้านอนุมูลอิสระ
• ช่วยการมองเห็น, ผิวหนังแข็งแรง
• ช่วยระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กันเชื้อโรค
แหล่งอาหาร
• เบต้า แคโรทีนมีมากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม แครอท, ฟักทอง, มะเขือเทศ, ผักใบเขียว
• RDA (Recommened Dietary Allowance) หมายถึงปริมาณที่แนะนำต่อวัน
• ผู้ชาย 5000 IU (3 mg beta carotene)
• ผู้หญิง 4000 IU (2.4 mg beta carotene)
• ปริมาณสำหรับ Antioxidant 25,000 IU หรือ15 mg beta carotene(น้ำแครอท 1 แก้ว มี 24.2 mg beta carotene)
ข้อแนะนำ
• ควรรับประทานพร้อมอาหาร เพราะเป็นวิตามินที่ละลายในไข มัน
• ควรรับประทานเบต้า แคโรทีนจากธรรมชาติ คือผักผลไม้หลายๆ ชนิด
• ถ้าได้รับปริมาณมากไปอาจทำให้ผิวหนังมีสีเหลืองได้ ซึ่งจะหายไปเมื่อลดหรือหยุดรับประทาน
• เบต้า แคโรทีนจะได้จากพืช ส่วน Vitamin A ชนิด retinol จะได้มาจากสัตว์ เพราะวิตามินชนิดนี้อาจทำให้เกิดโทษต่อตับได้

ในปี 1994 มีการศึกษาที่น่าฉงนจาก Finland พบว่าคนที่สูบบุหรี่อย่างหนักที่รับประทานเบต้า แคโรทีนเสริม(20 มก.) มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่า กลุ่มสูบบุหรี่หนักที่ไม่ได้รับเบต้า แคโรทีนเสมอ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนมากไม่เชื่อผลการศึกษานี้ แต่บางท่านก็แนะนำคนที่สูบบุหรี่ว่าไม่ควรรับประทานเบต้า แคโรทีน เสริมจนกว่าจะมีการศึกษาที่ชัดเจนมากกว่านี้
Vitamin C (Ascorbic acid)
ประโยชน์
• เป็นสาร antioxidant
• ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและการรักษาแผล
• ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค
• ช่วยการสร้างสารสื่อประสาท (neurotransmitter) เช่น นอร์อะดรีนาลีนและซีโรโทนิน
แหล่งอาหาร
• ผลไม้สดจำพวกส้ม ฝรั่ง สตรอเบอรี่ ฯลฯ
• RDA ผู้ใหญ่ 60 มก. (ส้มขนาดกลาง 2 ผล หรือฝรั่ง 4-5 ชิ้น)
• สตรีตั้งครรภ์ 70 มก.
• คนสูบบุหรี่ >80 มก.
• ปริมาณสำหรับ antioxidant 250-500 มก. แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง เพราะถ้ามากกว่านี้เซลล์ในร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ ก็จำเป็นต้องขับทิ้งออกทางปัสสาวะ
ข้อแนะนำ
• ถ้าไม่สบาย หรือเป็นหวัดควรเพิ่มปริมาณให้มากกว่านี้ได้
• วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำเพราะฉะนั้นการรับประทานมากเกินไปเล็กน้อยก็จะถูกขับออกได้ง่าย
• ยังมีข้อถกเถียงกันว่าวิตามินซีสามารถทำให้เกิดนิ่วในไตได้หรือไม่
Vitamin E (Tocopherols)
หน้าที่
• เป็นสาร antioxidant
• บำรุงให้เซลล์ในร่างกายดีและแข็งแรงอยู่เสมอ
• ช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ในร่างกายจากมลภาวะต่างๆ
แหล่งอาหาร
• น้ำมันพืช ถั่ว ผักใบเขียว ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีท ฯลฯ
• RDA ผู้ชายและสตรีตั้งครรภ์ 15 IU (10 มก.)
• ผู้หญิง 12 IU (8 มก.)
• ปริมาณสำหรับ antioxidant อายุ < 40 ปี = 400 IU
• อายุ > 40 ปี = 800 IU
ข้อแนะนำ
• ควรเลือกชนิดธรรมชาติ (d-alpha tocopherol รวมถึง Mixed tocopherols)
• รับประทานพร้อมอาหาร เพราะเป็นวิตามินที่ะลายในไขมัน
• นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าขนาด 400-800 IU ต่อวันค่อนข้างปลอดภัย (ขนาดที่มากกว่า 1000 IU อาจเป็นพิษได้)
• ขนาดที่มากกว่า 400 IU จะทำหน้าที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือดได้ (anticlotting)เช่นเดียวกับ แอสไพริน
• ท่านที่มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือดหรือได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดควรสอบถามแพทย์ก่อนที่จะรับประทาน Vitamin E
Selenium (ซิลิเนียม)
ประโยชน์
• สาร antioxidant
• ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
• แหล่งอาหาร ธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole grain) กระเทียม ไข่ อาหารทะเล หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ
• RDA ผู้ชาย 70 mcg
• ผู้หญิง 55 mcg
• สตรีตั้งครรภ์ 65 mcg
ปริมาณสำหรับ antioxidant
• 200 mcg
• ไม่ควรใช้ขนาดเกิน 400 mcg เพราะอาจเป็นพิษได้
• ควรใช้อยู่ในรูป yeast-bound
จะเห็นได้ว่าวิตามินและแร่ธาตุ ในปริมาณที่เหมาะกับantioxidant ส่วนมากจะต้องเพิ่มปริมาณมากกว่า RDA ซึ่งบางอย่างก็ไม่สามารถรับประทานได้อย่างเพียงพอ ก็อาจจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผมเองไม่ได้ต่อต้านผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แต่อยากให้ข้อคิดสะกิดกันสักนิดว่า ถ้าเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นทางเลือกหนึ่งก็ยิ่งต้องศึกษาให้ดีก่อนถึง โทษของสารแต่ละอย่างหากได้รับมากเกินไป ควรรู้ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง ผมเห็นบางคนรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในแต่ละมื้อจำนวนมากแทบจะอิ่มแทน อาหารได้เลยครับ อย่าลืมว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็คืออาหารเสริมไม่สามารถแทนอาหารหลักได้ครับ ควรระมัดระวังในกรณีที่รับประทานมากเกินไปด้วยครับ เพราะอาจเกิดโทษขึ้นกับร่างกายได้

สุดท้ายนี้ผมจบด้วยหลัก "ล" ที่ผมอ่านเจอจากจดหมายข่าวฉบับหนึ่ง เข้าท่าดีครับเลยหยิบมาฝากกัน

ลด อาหารไขมันจากสัตว์
เลิก อาหารกระป๋องที่ใส่สีสังเคราะห์ และสารเคมี เช่น สารกันบูด หรือสีที่ไม่ใช่สีผสมอาหาร
เลี่ยง อาหารปิ้ง ย่าง เผา อบ รมควัน
ลุ้น อาหารสด ผัก ผลไม้ อาหารสมุนไพรปลอดสารพิษ

อาหารปนเปื้อนสารเคมี...อันตราย

อาหารปนเปื้อนสารเคมี...อันตราย
________________________________________
มีอาหารหลายชนิดที่เรากินโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงได้ สารเคมีสำคัญๆ ที่มักจะปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ที่มักตรวจพบในอาหาร ได้แก่
1. สารบอแรกซ์ (Borax) มีลักษณะเป็นผงสีขาวมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ ผงเนื้อนิ่ม
o สารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น
1. ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน
2. เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง
3. เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น
o แต่แม่ค้ามักนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย
o อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น
o พิษของสารบอแรกซ์เกิดได้สองกรณี คือ
1. แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง ส่วนอีกกรณีคือ
2. แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ
o คำแนะนำ
1. ผู้บริโภคไม่ซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ
2. หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดย ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง
3. ไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ
o โทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารซึ่งปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) เป็นอาหารไม่บริสุทธิ ตามมาตรา 26(1) มีโทษตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
o การทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
1. สับเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ
2. เติมน้ำยาทดสอบบอแรกซ์จนแฉะกวนให้เข้ากัน
3. จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น
4. นำกระดาษขมิ้นไปตากแแดนาน 10 นาที
5. ดูสี ถ้ากระดาษขมิ้นมีสีแดง แสดงว่าตัวอย่างมีบอแรกซ์ปนอยู่
2. สารกันรา หรือสารกันบูด เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ซึ่งผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น
o อาหารที่มักพบว่ามีสารกันรา ได้แก่ น้ำผักดอง น้ำดองผลไม้ แหนม หมูยอ เป็นต้น
o พิษของสารกันรา เมื่อกินเข้าไปจะทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตาย หากกินเข้าไปมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือในบางรายที่กินเข้าไปไม่มากแต่แพ้ จะทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ มีไข้
o หลีกเลี่ยงพิษจากสารกันราได้โดย เลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่กินอาหารหมักดอง หรือเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ มีเครื่องหมาย อย.
o การทดสอบเบื้องต้นสารกันรา โดยชุดตรวจกรมซาลิซิลิคในอาหาร
3. สารฟอกขาว หรือผงซักมุ้งหรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium Hydrosulfite) เป็นสารเคมีที่ใช้ฟอกแห อวน แต่แม่ค้าบางรายนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีขาว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
o อาหารที่มักพบว่ามีการใช้สารฟอกขาว ได้แก่ ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน
o อันตรายของสารฟอกขาวคือ เมื่อสัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และถ้ากินเข้าไป จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลง และหากกินมากอาจเสียชีวิตได้
o หลีกเลี่ยงสารฟอกขาวได้โดยการเลือกกินอาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ขาวจนเกินไป
o คำแนะนำ ผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกอาหารที่มีความสะอาด และมีสีใกล้ธรรมชาติ จะช่วยให้ปลอดภัยจากอันตรายของสารฟอกขาว
o การทดสอบเบื้องต้นสารฟอกขาว โดยใช้ชุดทดสอบสารฟอกขาวของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
1. นำถั่วงอกมาหั่นเป้นข้อเล็กๆ
2. เติมน้ำ 10 ซีซี บดให้เข้ากัน
3. หยดน้ำยา 3-4 หยด สังเกตดูสีน้ำยา
4. การอ่านผล ถ้าน้ำยาเป็นสีเทา ดำ แสดงว่ามีสารไฮโดรซัลไฟต์
4. สารฟอร์มาลิน(Formalin) หรือน้ำยาดองศพเป็นสารอันตรายที่แม่ค้าบางราย นำมาใช้ราดอาหารสด เพื่อให้ คงความสดอยู่ได้นาน ไม่บูดเน่าง่าย
o อาหารที่มักตรวจพบว่ามีสารฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่ เช่น ผักสดต่างๆ อาหารทะเลสด และเนื้อสัตว์สด เป็นต้น
o อันตรายของสารฟอร์มาลิน เมื่อกินเข้าไปจะเกิดเป็นพิษเฉียบพลัน ตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และอาจตายได้หากได้รับในปริมาณมาก
o การทดสอบเบื้องต้นโดยใช้
 ชุดทดสอบฟอร์มาลิน ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
5. ยาฆ่าแมลง หรือ สารเคมีสำหรับกำจัดแมลงซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้อาจตกค้างมากับผัก หรือผลไม้สด ปลาแห้ง
o อันตรายจากยาฆ่าแมลง เมื่อเรากินเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียว จะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก และหมดสติ หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้ แต่พิษที่พบมากที่สุดคือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เกิดสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
o การหลีกเลี่ยงจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหารคือ เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก(ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้น
o การทดสอบเบื้องต้นยาฆ่าแมลง โดยชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
6. สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูตามอล)
o ในท้องตลาดผู้บริโภคเคยเห็นหมูเนื้อแดงซึ่งมีแต่เนื้อล้วนๆ ไม่มีมันเลย ซึ่งมาจากความต้องการของผู้บริดภค ที่ต้องการเนื้อแดงล้วนๆไม่มีมันเลย ผู้เลี้ยงจึงให้หมูกินสารเคมี คือ ซาลบูตามอล
o ซาลบูตามอล เป็นยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม และมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ เมื่อมีการนำสารซาลบูตามอลไปใช้เร่งเนื้อแดงในหมู โดยให้หมูกินสารนี้ เมื่อตกค้างมาถึงผู้บริโภค อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงมีครรภ์
o คำแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง ไม่กินเนื้อหมูที่มีสารดังกล่าว โดยเลือกหมูที่มีชั้นมันหนา และเลือกหมูที่อยู่ในลักษณะสีไม่แดงมาก

โทษของสารพิษที่ปะปนในอาหาร

โทษของสารพิษที่ปะปนในอาหาร
ไดออกซินและฟูแรนส์
อาหาร ปิ้ง ย่าง รมควัน เรียกได้ว่าเป็นอาหารอันโอชะเหลือหลายแต่ก็นำซึ่งอันตรายอยู่ด้วย ไดออกซิน ที่มีผู้กลัวนักหนา มีมาจากอาหาร ประเภทนี้เหมือนกัน แล้วยังมีฟูแรนส์ สารพิษ อีกชนิดหนึ่ง เป็นของแถม อาหารปิ้งย่างเหล่านี้ เมื่อโดนความร้อนสูง จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ปฏิกิริยาเคมีขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูป โมเลกุล ของสารไขมัน ที่มีลักษณะเป็นสายยาว และต่อกัน เป็นวงก็คือ ไดออกซินและฟูแรนส์นั่นเองชื่อเต็มของไดออกซิน คือ Polychlorinated Dibenzo dioxins (PCDD) ซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวน ๓ วง เป็นวงแหวน เบนซิน ๒ วง และวงแหวน ที่มีมีออกซิเจน ๑ คู่อีก ๑ วง ส่วนฟูแรนส์คือ Poly Chlorinated Dibenzofuran (PCDF) มีลักษณะ โครงสร้าง เหมือนไดออกซิน นอกจากวงแหวน ที่มีออกซิเจนนั้น มีออกซิเจนเพียง ๑ อะตอมเป็น ที่น่าสังเกตว่า ทั้งไดออกซินและฟูแรนส์มีส่วนประกอบทางไฮโดรคาร์บอน และสารประกอบ คลอรีน ทั้งสองสาร ซึ่งนี่แหละคือต้นกำเนิดของการเกิดมะเร็ง
กรดซิตริค
น้ำ มะนาวเทียม ซึ่งมีสีสันเหมือนน้ำมะนาวจริงและบรรจุขวดขาย นิยมใช้ โดยทั่วไป กับส้มตำ รวมไปถึงอาหารรสแซ่บ ๆ ทั้งหลายไม่ว่า จะเป็นต้มยำ สิ่งที่พึงระวังคือ น้ำมะนาวเทียมนี้ ผลิตมาจาก กรดซิตริค ซึ่งนำมาละลายน้ำ แล้วแต่งกลิ่นเติมสี ให้เหมือนน้ำมะนาวแท้ ๆกรด ซิตริคเป็นกรดเป็นกรดที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกรดที่มีความบริสุทธิ์น้อย รวมทั้งมีสาร ปนเปื้อนอยู่ด้วย และขึ้นชื่อว่า เป็นกรด จึงสามารถย่อยสลาย สรรพสิ่งได้ รวมทั้งบรรดาทางเดินอาหาร ของผู้บริโภค เรียกว่า นอกจากไม่ให้คุณประโยชน์แล้ว ยังให้โทษเป็นของแถม
ดินประสิว หรือไนเตรท, ไนไตรท์อาหาร ตากแห้ง มักมีการเติมไนเตรทหรือดินประสิวลงไป เพื่อป้องกันการเจริญ ของเชื้อแบคทีเรีย ถ้าใชัในปริมาณ ที่พอดี ตามที่สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด ไนไตรทหรือดินประสิว ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่โดยทางปฏิบัติแล้ว การเติมดินประสิว ลงไปในอาหารแห้ง เช่นกุนเชียง ไส้กรอก หมูยอ ปลาเค็ม แฮม เบคอน เนื้อจะทำให้อาหาร ตากแห้งเหล่านี้ มีสีน่ารับประทาน ทำให้เนื้อสัตว์ดูมีสีแดง พ่อค้าแม่ค้า จึงมักใช้ ดินประสิว เพื่อปกปิด สภาพของเนื้อสัตว์ ที่อาจผ่านมาหลายวัน ให้มีสีแดง เหมือนสีธรรมชาติ จะได้เป็นเนื้อสัตว์ ที่เพิ่งทำได้ไม่นานอันตรายของดินประสิว เกิดจากการที่ไนเตรท,ไน ไตรท์จะสลายเป็นไนตริคออกไซด์ ไนตริคออกไซด์ จะทำปฏิกิริยา กับสีของ เม็ดเลือดแดง ของเนื้อสัตว์ ได้ไนโตรโซไมโอโกลบิน ที่เห็นเป็นสีแดง ตามอาหารตากแห้ง โดยทั่วไป แต่ในขณะเดียวกัน จากการทำปฏิกิริยา ระหว่างไนเตรท (ไนไตรท์) กับเนื้อสัตว์ ก็จะได้ไนโตรซามีน ซึ่งตัวนี้แหละ คือสารก่อมะเร็ง แน่นอนว่า ผู้บริโภคอาหารเหล่านี้ เป็นประจำ โอกาส เกี่ยวกับโรคมะเร็ง จึงมีสูง ยังไม่นับอาการอื่น ๆ ที่มีขึ้นได้ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
บอแรกช์, โลหะหนัก พบในผลไม้แช่อิ่ม
ผล ไม้แช่อิ่มนับได้เป็นอาหารยอดนิยมชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง มะยม กระท้อน มะดัน และ ผลไม้อื่น ๆ ผลไม้แช่อิ่มที่ สะอาดไร้สารพิษ จะต้องผ่าน กรรมวิธีทางธรรมชาติ แต่ยังมีพ่อค้าแม่ค้า ต้องการให้ผลไม้ กรอบอร่อย จึงหันมาใช้ สารบอแรกซ์ เพื่อเพิ่มความกรอบ และใช้สี ในการทำให้ ผลไม้สวย แต่ถ้าสีที่ใช้ เป็นสีย้อมผ้า จำพวกสี ย้อม ตอก กระดาษ ผู้บริโภคจะได้รับโลหะหนัก ที่อยู่ในสีเข้าไปอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น โลหะหนัก จำพวกโครเมียมตะกั่ว ปรอท แคดเมียม แล้วยังจะมีของแถม เพิ่มอีก ได้แก่ขัณฑสกร ทำให้ผลไม้ มีรสหวาน แต่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ นับได้ว่าเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่รวมสารพิษหลายชนิดอยู่ด้วยกันบอ แรกซ์นับได้ว่าเป็นสารพิษหนึ่งที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารหลายประเภท โดยเฉพาะอาหารที่ต้องการ ความกรอบ บอเร็กซ์เป็นสารประกอบ ชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โซเดียมบอเรต หรือเรียก โดยทั่วไปว่าน้ำประสานทอง ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้บอแรกซ์ เป็นสารที่ห้ามใช้ ในอาหาร การจำหน่ายบอแรกซ์ มักอยู่ในรูปของ "ผงกรอบ" หรือ "ผงเนื้อนิ่ม"อันตราย ของบอแรกซ์เกิดจากการที่บอแรกซ์เข้าไปสะสมในร่างกาย ในส่วนของพิษเฉียบพลัน เกิดได้กับบุคคล ที่รับสารบอแรกซ์ ในปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการ เบื่ออาหาร อาเจียน เกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อ ปัสสาวะไม่ออก อาจหมดสติได้ ส่วนพิษสะสมบอแรกซ์ ไปสะสมในกรวยไต หรือสมอง เมื่อรับบอแรกซ์ เรื่อย ๆ และสะสม ในร่างกาย ปริมาณมาก จะทำให้ผิดปกติ และเกิดไตพิการได้
สารกันบูด
สาร กันบูด เป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่นิยมใช้เพื่อไม่ให้อาหารบูดเน่า และยังใช้ได้กับอาหาร ในหลายประเภท สารกันบูด เมื่อใส่ในอาหาร จะช่วยป้องกัน หรือทำลายชนิดอาหารเชื้อจุลินทรีย์ ไม่ให้เจริญเติบโต หรือป้องกันไม่ใช้เชื้อจุลินทรีย์ แพร่กระจายออกไป จึงไม่เกิดการเน่าเสียและอาหารอยู่ได้นาน แต่สารกันบูด ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ หากรับสารเหล่าในปริมาณมาก สารกันบูดที่นิยมใช้กันมากได้แก่ เบนโซอิก และ กรดซอร์บิก

อันตรายของสารพิษ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย แบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ พิษเฉียบพลัน เป็นการรับสารพิษมาในปริมาณมาก ช่วงเวลาสั้น จึงทำให้เกิด อาการรุนแรงถึงตายได้ ลักษณะพิษเฉียบพลันนี้ จึงไม่ปรากฏ ให้เห็นมากนัก ในการบริโภคอาหาร ลักษณะที่สองคือ พิษสะสม เป็นการรับสารพิษ ในปริมาณน้อย แล้วไปสะสมในร่างกาย เมื่อมีปริมาณมากพอ จึงค่อยออกอาการ ลักษณะพิษ สะสม จึงเป็นลักษณะ ที่พึงระวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการบริโภคอาหาร ซึ่งเป็นการรับสารพิษ ไปสะสมในร่างกาย ทีละน้อย โดยที่ผู้บริโภคเองไม่ระวังตัว กว่าจะรู้พิษที่สะสม ได้กลายเป็น โรคต่างๆ เช่น มะเร็ง เป็นต้นผู้บริโภคจึงควรระวังสารพิษเหล่านี้อย่างมาก หากทำได้ควรละเว้น อาหารที่จะมีสารพิษเหล่านี้ ปะปนอยู่
อยากให้ทุกท่านช่วยกันระมัดระวังบุตรหลานกันนนะคะ อนาคตของชาติจะได้แข็งแรงไร้โรคภัยมารบกวน

ไขมันสะสมคั่งในตับ (NASH)

ไขมันสะสมคั่งในตับ (NASH)

โรคไขมันคั่งสะสมในตับ คือภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอรายด์ อยู่ในเซลล์ของตับซึ่งอาจมีเพียงแค่ไขมันคั่งอยู่ในเซลล์ตับ หรือมีอาการอักเสบของตับร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วจะมีสาเหตุต่างๆ มากมายที่สามารถทำให้เกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับได้ สาเหตุที่พบบ่อยคือจากการดื่มสุรา, ยาบางชนิด หรือสารพิษ, ภาวะขาดสารอาหาร, ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson’s Disease) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดการจากดื่มสุรา ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) แต่ถ้ามีกรอักเสบของตับร่วมกับมีการบวมของเซลล์ตับร่วมด้วย ก็จะเรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Steato Hepatitis (NASH)

ไขมันคั่งสะสมในตับพบได้บ่อยขนาดไหน
มีการศึกษาทั้งจากประเทศทางอเมริกาและญี่ปุ่น พบว่ามีประชากรประมาณร้อยละ 10-20 มีภาวะไขมันคั่งสะสมในตับโดยการตรวจด้วยวิธี อัลตราซาวด์ และประมาณร้อยละ 1-3 ของประชากร จะมีการอักเสบของตับ หรือที่เรียกว่า NASH ร่วมด้วย และถ้าดูผู้ป่วยที่มาตรวจด้วยเรื่อง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี, ซี, การดื่มสุรา, หรือรับประทานยา แล้วพบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ ที่อาจเป็นสาเหตุของตับอักเสบเรื้อรัง สำหรับในประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจังแต่ก็พบว่าภาวะไขมันคั่ง สะสมในตับเป็นสาเหตุของตับอักเสบเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มาตรวจเรื่องตับอักเสบเรื้อรัง
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดไขมันคั่งสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดจากการสูบบุหรี่นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ในปัจจุบันคิดว่ามีหลายสาเหตุ ความรู้จากการศึกษาในปัจจบันพบว่าภาวะที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลินเป็นปัจจัย ที่สำคัญของการเกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ หลังจากนั้นอาจจะมีปัจจัยหรือกลไกอื่นอีกที่มากระตุ้นให้เกิดการอักเสบและ การตายของเซลล์ตับ ซึ่งกลุ่มอาการที่สัมพันธ์ต่อการดื้อต่ออินซูลินนี้เรียกว่า Insulin Resistant Syndrome ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ

1. อ้วน ซึ่งมักจะอ้วนที่ลำตัวมากกว่าแขนขา
2. เป็นเบาหวาน
3. มีไขมันในเลือดสูง
4. มีความดันโลหิตสูง
พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่มีไขมันคั่งสะสมในตับ จะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินร่วมด้วย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่แสดงอาการดื้อต่ออินซูลินให้เห็น ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับนั้นจะมีได้หลายปัจจัยที่นอกเหนือไป จากภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น สารพิษ และยาบางชนิด
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ มักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการมาเจาะเลือดเช็คสุขภาพ ในบางรายอาจมีอาการปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา ในบางรายอาจจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย เมื่อโรคตับเป็นมากแล้ว ตรวจร่างกายผู้ป่วยมักจะพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติยกเว้นอาจจะพบว่าผู้ป่วยอาจจะ อ้วน ซึ่งมักจะเป็นอ้วนแบบลงพุง และในกรณีผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้วก็อาจตรวจเจอลักษณะของโรคตับเรื้อรังหรือ ตับแข็งร่วมด้วย การเจาะเลือดดูการทำงานของตับอาจจะพบค่า AST กับค่า ALT สูงกว่าปกติประมาณ 1.5 เท่า ถึง 4 เท่า อาจจะมีค่าALP สูงขึ้นเล็กน้อยส่วนค่าอื่นๆ มักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาวะไขมันคั่งสะสมในตับมีอันตรายหรือไม่
ภาวะไขมันคั่งสะสมในตับอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิด โดยแบ่งตามพยาธิสภาพของชิ้นเนื้อตับ ดังนี้
ชนิดที่ 1 ชนิดนี้จะมีแต่ไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับอย่างเดียว แต่ไม่มีการอักเสบของตับ ร่วมด้วย
ชนิดที่ 2 ชนิดนี้จะมีไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับ ร่วมกับมีการอักเสบของตับเล็กน้อย
ชนิดที่ 3 ชนิดนี้จะมีไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับ และมีการบวมโตของเซลล์ตับ
ชนิดที่ 4 จะเป็นแบบชนิดที่ 3 แต่มีการตายของกลุ่มเซลล์ตับ และอาจมีผังผืดในตับร่วมด้วย
ชนิดที่ 1 และ 2 มักจะสบายดี แม้ว่าจะติดตามไปเป็นระยะเวลา 10-20 ปี ก็ยังปกติดีไม่มีอาการของโรคตับเรื้องรังเกิดขึ้น แต่ไขมันคั่งสะสมในตับชนิดที่ 3 และ 4 จะมีการดำเนินโรคจนเกิดตับแข็งได้ถึงร้อยละ 20-28 ในเวลา 10 ปี ดังนั้น จะว่าแม้ว่าโดยรวมดูเหมือนว่าภาวะไขมันคั่งสะสมในตับไม่รุนแรงแต่ผู้ป่วยที่ เป็นชนิดที่ 3 และ 4 จะมีการดำเนินโรคไปเป็นตับแข็งและอาจเสียชีวิตได้ ไม่ต่างจากไวรัสตับอักเสบเรื้องรัง ปัจจุบันข้อมูลยังบ่งชี้ว่า ตับอักเสบเรื้องรังจากภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้ว
จะตรวจได้อย่างไรว่ามีไขมันคั่งสะสมในตับ
1. โดยการเจาะเลือดดูการทำงานของตับว่ามีการอักเสบ (ค่า AST, ALT สูงกว่าปกติ) ดูระดับ น้ำตาล, ระดับไขมันในเลือดว่าสูงกว่าปกติ
2. ตัดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับออกไปก่อน เช่นการดื่มสุรา, การรับประทานยา, ตับอักเสบจากไวรัสซี, และ Wilson’s Disease เป็นต้น
3. การตรวจอัลตราซาวด์ จะพบว่าตับอาจมีขนาดโตขึ้น และมีลักษณะขาวขึ้นกว่าไตและม้าม
4. ตรวจโดยวิธีเอ็กซ์เรย์ คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) หรือเอ็กซ์เรย์ สนามแม่เหล็ก (MRI)
5. เจาะชิ้นเนื้อตับออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา
โดยทั่วไปเรามักจะทำการวินิจฉัยโดยวิธีที่ 3 และ 4 ข้อแรก จะพิจารณาเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจเฉพาะในรายที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วย และไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของโรคหรือในกรณีที่คิดว่าภาวะอักเสบของตับอาจจะเกิด สาเหตุอื่นร่วมด้วย
จะรักษาไขมันคั่งสะสมในตับอย่างไร
การรักษาที่สำคัญและได้ประโยชน์มากในผู้ป่วยไขมันคั่งสะสมในตับ คือ การลดน้ำหนัก ในกรณีที่ผู้ป่วยอ้วน ซึ่งควรลดน้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหารกล่าวคือ หลีกเลี่ยงการทานอาหารทีมีไขมันสูง เช่น นม เนย กะทิ ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดงและ เนื่องจากไตรกลีเซอรายด์เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับก็ต้องพยายามหลีก เลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลงด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมื้อเย็น ที่สำคัญควรมีการออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะเป็นการลดน้ำหนักอย่างถูกสุขภาพ และเป็นการช่วยสลายไขมันออกจากตับได้ดี แต่พึงระวังว่าไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการงดอาหาร และไม่ควรลดน้ำหนักเร็วเกินไป โดยทั่วไป แนะนำให้ลดน้ำหนักลงประมาณ 1-2 กิโลกรัม / เดือน เพราะการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็วโดยการงดอาหารอาจก่อให้เกิดตับอักเสบอย่าง รุนแรงได้ การลดน้ำหนักนั้นควรลดลงมาอย่างน้อยร้อยละ 15 จากน้ำหนักเริ่มต้นหรือจนน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานรักษาควบคุมระดับน้ำตาล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเบาหวานรักษา ควบคุมไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไขมันในเลือดสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น
ข้อควรระวัง ยา ที่ใช้ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงหลายตัวนั้นมีผลข้างเคียงทำให้เกิดตับ อักเสบเอง จึงควรเริ่มต้นด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ก่อนจะใช้ยาต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจน สำหรับยาที่ใช้ในการรักษาภาวะตับอักเสบเรื้องรังจากไขมันคั่งสะสมในตับ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจัยแต่ยาที่มีการศึกษาพอควรและมีข้อมูล ที่บ่งว่าน่าจะมีประโยชน์ มีดังนี้
1. Ursodexycholic Acid (UDCA) ยากลุ่มนี้มีการศึกษาพบว่า จะช่วยลดภาวะการอักเสบของตับลง และมีการทำงานของตับดีขึ้น ขนาดที่ใช้ในการรักษา คือ 12-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งต้องรับประทานระยะยาวเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แต่ข้อมูลการศึกษาการรักษาเป็นเวลานาน 2 ปี ไม่แสดงประโยชน์ของการรักษาด้วยยาตัวนี้มากนัก
2. วิตามินอี ซึ่งจัดเป็น Anti-Oxidative Stress อันเป็นกลไกที่สำคัญของการเกิดตับอักเสบและการตายของเซลล์ตับ การศึกษาในเด็กพบว่า วิตามินอีช่วยลดการอักเสบของตับลงได้โดยรับประทานในขนาด 800-1,600 มิลลิกรัม ต่อวัน
3. Silymarin เป็นยาที่สกัดมาจากดอก Milk Thrisle ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของสก๊อตแลนด์ Silymarin ก็มีฤทธิ์เป็น Anti-Oxidative Strees นอกจากนี้ยังมีการศึกษาบ่งว่าอาจช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินลง ดังนั้นโดยฤทธิ์ของยาก็น่าจะมีประโยชน์ในการรักษาไขมันคั่งสะสมในตับ โดยออกฤทธิ์ทั้งลดการอักเสบและเพิ่มความไวต่ออินซูลิน
4. ยากลุ่มที่กระตุ้นความไวต่ออินซูลิน เช่น ยากลุ่ม Metformin พบว่าสามารถช่วยลดไขมันที่คั่งสะสมในตับและลดการอักเสบของตับลงได้
นอกจากนี้ยังมีการศึกษายาตัวใหม่ๆ อีกหลายตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มที่มีฤทธิ์ Anti-Oxidative Stress กับกลุ่มที่ลดความดื้อต่ออินซูลิน ในประเทศที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนตับ ก็มีการรักษาผู้ป่วยไขมันคั่งสะสมในตับ ที่มีตับแข็งรุนแรงหรือตับแข็งระยะสุดท้ายด้วยวธีการผ่าตัดเปลี่ยนตับ


5 วิธีใส่ใจสุขภาพตับ (ไม่ให้ไขมันในตับสูง)
สัปดาห์ก่อนคุณหมอ ท่านหนึ่งดูไม่อ้วนอะไรเลย ไปตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ช่องท้อง และตรวจพบไขมันในตับสูง (fatty liver) เป็นไปได้หรือที่คนผอมจะมีไขมันในตับสูงได้
วันนี้มีคำแนะนำจากเมโยคลินิกมาฝากครับ

ภาวะไขมันในตับ สูงโดยไม่ได้ดื่มเหล้าหรือดื่มน้อยมาก (nonalcoholic fatty liver disease) ส่วนใหญ่จะไม่ทำให้เกิดอาการหรือโรคอะไร (steatosis) ส่วนน้อยอาจทำให้เกิดตับอักเสบ (nonalcoholic steatohepatitis / NASH) ซึ่งอาจทำให้เกิดตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งตับได้
โรค นี้พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ทว่า... พบมากที่สุดในคนวัยกลางคนที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน เป็นเบาหวาน มีค่าโคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด) หรือไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์สูง

คนในซีกโลกตะวันตก (ฝรั่ง) อ้วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า ประชากรสหรัฐฯ 1 ใน 3 มีไขมันในตับสูง
คน ที่มีไขมันในตับสูงส่วนใหญ่อยู่แบบสบายๆ ไม่มีอาการอะไร ส่วนน้อยมีอาการที่ไม่ชัดเจน เช่น อ่อนเพลีย เพลียง่าย ไม่สบายหรือแน่นท้องด้านขวาตอนบน ฯลฯ


ภาพจากเมโยคลินิก > [ picture from Mayoclinic ]
โปรดสังเกตว่า ตับมีไขมันแทรกจนเหลืองอร่าม ไม่เหมือนตับทั่วไปที่มีสีแดงคล้ำ

ภาวะไขมันในตับ สูงมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เพิ่มความเสี่ยง (โอกาสเป็น) โรคเบาหวาน หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
กลุ่มอาการเมทาโบลิคได้แก่
• อ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง
• ความดันเลือดสูง
• ไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) สูง
• ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) ชนิดดี (HDL) ต่ำ
• ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ว่าที่เบาหวาน หรือใกล้เป็นเบาหวานขึ้นไป) ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

ทำไมไขมันในตับที่ดูเหมือนนิ่ง สงบเสงี่ยมมาเป็นเวลานาน และไม่ค่อยมีอาการ ถึงได้ "ดุ" หรือ "โหด" ขึ้นมาในคนบางคน
เรื่อง นี้นักวิจัยหลายท่านกล่าวว่า การมีไขมันในตับสูงอาจเปรียบได้กับ "การโจมตีครั้งที่ 1 (first hit)" คล้ายๆ การแทรกซึมของผู้ก่อการร้าย

ส่วนการอักเสบในตับไปจนถึงตับแข็ง หรือมะเร็งน่าจะเป็นผลจากการ "โจมตีครั้งที่ 2 (second hit)" ซึ่งอาจเปรียบได้กับการก่อการร้ายแบบเต็มตัว
สาเหตุ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดการโจมตีครั้งที่ 2 มีหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อ (เช่น เหงือกอักเสบเรื้อรัง ฯลฯ) ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง (เช่น อายุมากขึ้น ฯลฯ) การได้รับธาตุเหล็กมากเกิน (เช่น กินเนื้อ เลือด หรือยาบำรุงเลือดมากเกิน ฯลฯ) ลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งแต่ละคนจะต่างกันไป ฯลฯ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคตับมีไขมันมากมี 2 กลุ่มได้แก่
(1). ปัจจัยที่สำคัญมากได้แก่ น้ำหนักเกินหรืออ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง

คนที่มีโรคตับอักเสบจากไขมันในตับสูง (NASH)
• มากกว่า 70% เป็นคนอ้วน
• 3 ใน 4 เป็นโรคเบาหวาน
• มีไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง (อาจถึง 80%)

(2). ปัจจัยที่มี ความสำคัญรองลงไปได้แก่ การผ่าตัดช่องท้อง (เช่น การผ่าตัดลำไส้เพื่อลดความอ้วน ฯลฯ) ยาบางชนิด (เช่น ฮอร์โมนเพศทดแทนหลังหมดประจำเดือน ฯลฯ) โรคพันธุกรรมบางอย่าง

ข่าวดีคือ โรคนี้ป้องกัน หรือชะลอไม่ให้โรคแย่ลงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
• ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน)
• ออกแรง-ออกกำลัง
• ควบคุมเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือด) ให้ดี
• ลดระดับไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอล (ถ้าสูง)

(1). ลดน้ำหนัก
• สูตร อาหารที่ช่วยลดความอ้วน หรือลดน้ำหนักได้ดีประกอบด้วยอาหารที่มีเส้นใย (ไฟเบอร์) สูง เช่น ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) ธัญพืชไม่ขัดสี (เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังเติมรำ ฯลฯ) ให้กำลังงานต่ำ (เช่น ไม่ผ่านการผัด ทอด หรือเติมน้ำตาล ฯลฯ) และมีไขมันไม่เกิน 30% ของกำลังงานทั้งหมด (ประมาณ 15% ของปริมาณทั้งหมด)

• ลดน้ำหนักช้าๆ สัปดาห์ละไม่เกิน 0.5 (ครึ่ง) กิโลกรัมกำลังพอดี
• การลดน้ำหนักเร็วๆ มากๆ อาจทำให้ไขมันจับตับมากขึ้นได้

(2). การออกแรง-ออกกำลัง
• อาหารสุขภาพ (ตามข้อ 1) และการออกแรง-ออกกำลังพอประมาณมีส่วนช่วยลดการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดการอักเสบของตับ

(3). ควบคุมเบาหวานให้ดี
• การรักษาเบาหวานไม่ได้ขึ้นกับยาเพียงฝ่ายเดียว ทว่า... ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างการควบคุมอาหาร การออกแรง-ออกกำลัง และยา
(4). ลดระดับไขมันในเลือด
• ควรลดระดับไขมันหรือโคเลสเตอรอลในเลือดด้วยการควบคุมอาหาร ออกแรง-ออกกำลัง หรือใช้ยา (ถ้ามีข้อบ่งชี้) มีส่วนช่วยให้โรคนี้ทุเลาลงได้

(5). หลีกเลี่ยงสารพิษ
• ควร ลด-ละ-เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) และสารเคมีหรือยาที่มีพิษต่อตับ เช่น ไม่กินยาแก้ปวดพาราเซตามอลเกินขนาด หรือกินติดต่อกันนานเกิน (7 วัน) ฯลฯ

การป้องกันโรคนี้เสียตั้งแต่ต้นเป็นดีที่สุด สรุปการป้องกันโรคที่สำคัญได้แก่
• (1). ระวังอย่าให้อ้วน

• (2). ป้องกันโคเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดสูง โดยการควบคุมอาหาร ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
• (3). ระวังอย่า ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยการกินธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ พอประมาณ กินผักให้มากหน่อย กินผลไม้ที่ไม่หวานจัดพอประมาณ กินถั่ว กินช้าๆ และถ้าเป็นเบาหวาน... ควรรักษาให้ต่อเนื่อง

• (4). ลด-ละ-เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ)
เมื่อ คนบนโลกอ้วนกันมากขึ้น... เราก็จะมีโอกาสพบโรคไขมันในตับสูงเพิ่มขึ้น หรือแม้คนที่ไม่อ้วน... ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง ฯลฯ ก็มีโรคไขมันในตับสูงได้
ที่มา: บ้านสุขภาพ โดย น.พ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

โรค ไขมันในตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ หรือ Non Alcoholic Fatty Liver Disease, NAFLD คุณหมอ Ludwig ในปี 2523 เป็นผู้ที่ทำให้วงการแพทย์รู้จักโรคนี้ว่ามีไขมันจำนวนมากไปสะสมในตับ ทำให้ตับมีการอักเสบทีละเล็กละน้อย จนกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับแข็ง และอาจจะกลายเป็นมะเร็งของตับได้ โรคนี้มีอันตรายมาก และจะเป็นโรคที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากโรคนี้เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โดยเฉพาะที่พุง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และร่างกายมีความดื้อต่อสารอินซูลิน (สารอินซูลินมีหน้าที่คอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงจนเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง หมดนี้ถูกเรียกรวมกันว่าเป็น Metabolic Syndrome โรคอ้วนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกนี้ เช่น ในปี 2540 มีคนอ้วนแค่ 200 ล้านคน แต่ปี 2568 จะมีคนอ้วนถึง 600 ล้านคน! คนอ้วนในที่นี้คือ คนที่มีดัชนีมวลกาย หรือ body mass index 30 ขึ้นไป (สำหรับชาวโลกที่ไม่ใช่ชาวเอเชีย)Non Alcoholic Fatty Liver Disease เป็นชื่อรวมของโรคนี้ ตอนแรกจะมีแต่ไขมัน (steatosis) เท่านั้น แต่ถ้ามีไขมันมากขึ้นตับจะอักเสบ เมื่อมีการอักเสบจะเรียกว่า Non Alcoholic Steatohepatitis (NASH) หรือการอักเสบของตับเนื่องมาจากไขมันในตับ ถ้ายังไม่มีการรักษาที่ดีจะกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็ง ตับการป้องกันและรักษาโรคตับที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับ คือ การลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จนกระทั่งดัชนีมวลกาย หรือ body mass index, BMI อยู่ต่ำกว่า 23 (สำหรับคนไทยและเอเชีย สำหรับชาวโลกประเทศอื่นๆ ค่าปกติคือ ต่ำกว่า 24.9 ระหว่าง 24.9-29.9 จะเรียกเพียงว่าน้ำหนักเกิน) แม้ท่านยังไม่มีความดันโลหิตสูง ไม่มีไขมันในเลือดสูง ไม่อ้วน ไม่เป็นเบาหวาน ท่านก็ยังต้องคุมอาหารและออกกำลังกายตั้งแต่บัดนี้เพื่อดู BMI และพุงของท่านให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ต่ำกว่า 23 และ 90 เซนติเมตร (ชาย) 80 เซนติเมตร (หญิง) ตามลำดับ ถ้าท่านทำได้แค่นี้ท่านจะป้องกันโรคต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดัน โรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน ฯลฯ

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระ พิรัชวิสุทธิ์
หน่วยโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา 90110